คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่
คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่ คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ 1. คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน(Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า … Read More
ระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดติดตามข่าวกันในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 วันมานี้เราคงจะได้ยินข่าวที่อาคารร้างเก่าที่ก่อสร้างด้วยระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงเกิดการถล่มลงในระหว่างขั้นตอนการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้เกิดคนงานเสียชีวิตกันไปบ้างนะครับ ในขณะนี้ทีมงานสำรวจของ วสท ได้เข้าสำรวจอาคารหลังนี้แล้วนะครับ และ คาดว่าใน 1-2 วัน ข้างหน้าน่าจะมีข้อสรุปถึงสาเหตุของการถล่มมาให้พวกเราได้รับทราบและเรียนรู้ร่วมกันนะครับ เมื่อถึงเวลานั้นแอดมินจะนำมาขยายความให้พวกเราได้รับทราบกันอีกครั้งนะครับ ในขณะนี้เป็นที่คาดหมายกันว่าระบบของพื้นคอนกรีตอัดแรงที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหลังดังกล่าวนี้เป็นระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND ครับ … Read More
ต้องการเสาเข็มตอกเสริมฐานรากภายในอาคารโรงงาน ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง (Spun Micro Pile)
ต้องการเสาเข็มตอกเสริมฐานรากภายในอาคารโรงงาน ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง (Spun Micro Pile) การเสริมฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เสาเข็มที่มีคุณภาพ เราขอแนะนำ เสาเข็มสปันไมโครไพล์แท้ภูมิสยาม เสาเข็มขนาดเล็กที่มีความมั่นคงแข็งแรงสูง เหมาะกับงานตอกเสริมฐานราก เพราะเสาเข็มสามารถเชื่อมต่อแต่ละท่อนได้โดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้า และใชั้ปั้นจั่นแบบพิเศษในการตอก ทำให้สามารถตอกต่อกันได้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง รองรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test เสาเข็มสปันไมโครไพล์ … Read More
ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในหน้าที่ 6 ซึ่งเป็นหน้าสุดท้ายแล้ว ซึ่งก็คือรูปที่ผมได้นำเอามาประกอบคำอธิบายในวันนี้นะครับ โดยที่เนื้อหาในหน้าสุดท้ายนี้จะเป็นการคำนวณเพื่อที่จะตรวจสอบหาว่า สถานะของการเสียรูปในแนวดิ่งของโครงสร้างคานของเรานั้นเป็นเช่นใดเมื่อเราทำการพิจารณาจากค่าเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นค่าที่ยอมให้ตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ใน CODE ใช่หรือไม่นะครับ ก่อนอื่นหน้านี้จะเริ่มต้นจากการที่เราต้องทำการพิจารณาถึงกรณีของ การเสียรูปในระยะยาว … Read More