ข้อควรพึงระวัง เมื่อเราต้องทำการเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนกรีตประเภทนี้อีกสักเล็กน้อย โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องของข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์มให้แก่เพื่อนๆ นะครับ

 

ผมได้ทำการสรุปข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องทำการเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้ครับ

 

  1. ในขั้นตอนของการสั่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มนั้นเราจำเป็นที่จะต้องแจ้งประเด็นๆ นี้รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ แวดล้อมการทำงานให้ชัดเจนกับทางโรงงานผู้ผลิต เช่น สถานที่ก่อสร้างนั้นตั้งอยู่ในสถานที่ๆ มีความยากง่ายในการเข้าออกมากน้อยเพียงใด เป็นต้น เพราะทางโรงงานผู้ผลิตนั้นจะได้ทราบและทำการออกแบบสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ตามที่เราได้แจ้งไปให้มากที่สุดนะครับ

 

  1. เมื่อมีการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มที่หน้างานอย่าลืมกำชับให้ทีมวิศวกรที่คอยทำหน้าที่ในการตรวจสอบค่าการยุบตัวของคอกนรีต หรือ SLUMP TEST ให้เก็บข้อมูลตัวอย่างและค่าของการยุบตัวของคอนกรีตสำเร็จรูปทุกๆ คันที่เข้ามาที่หน้างานด้วย เราไม่ควรที่จะทำการสุ่มตรวจข้อมูลดังกล่าวเหมือนกันกับขั้นตอนในการเทคอนกรีตทั่วๆ ไป เพราะ การทำงานกับสลิปฟอร์มนั้นค่อนข้างที่จะมีความพิเศษแตกต่างออกไปจากขั้นตอนในการก่อสร้างทั่วๆ ไปนะครับ

 

  1. ขั้นตอนของการติดต่อประสานงานกับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเทคอนกรีตนั้นเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในขณะที่ทำการเทคอนกรีตเลยนะครับ เพราะ หากมีเหตุอันใดที่จะทำให้ระยะเวลาในการเทนั้นเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ก็ตาม เช่น ต้องทำการหยุดการเทคอนกรีตชั่วขณะเพราะประสบกับเหตุใดๆ หรือ ต้องทำการเร่งขั้นตอนการเทคอนกรีตให้เร็วยิ่งขึ้น อาจเพราะรถคอนกรีตนั้นมารอเป็นจำนวนมากเกินไป เป็นต้น เราจึงควรที่จะทำการแก้ปัญหานี้โดยการติดต่อประสานงานกับโรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปโดยด่วน ทั้งนี้ก็เพื่อให้โรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนั้นจะได้สามารถทำการปรับสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีระยะเวลาในการก่อตัวของคอนกรีตที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับระยะเวลาทำงานจริงๆ ที่หน้างานซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยนะครับ

 

  1. สำหรับขั้นตอนเมื่อกำลังทำการเทคอนกรีตนั้นเราควรที่จะทำการแบ่งการเทออกเป็นชั้นๆ และควรให้ขนาดความหนาของคอนกรีตที่ทำการเทนั้นมีความสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตลอดทั้งหน้าตัด โดยเราอาจจะทำการเฉลี่ยความหนาดังกล่าวให้อยู่ที่ประมาณ 30 CM ถึง 40 CM ต่อชั้นนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการควบคุมการก่อตัวของคอนกรีตในแต่ละชั้นที่ทำการเทให้มีความใกล้เคียงกันให้มากที่สุดนั่นเองนะครับ

 

  1. สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ เรื่องระยะเวลาในการเท โดยเราควรที่จะใช้อัตราความเร็วในการเทคอนกรีตให้มีความสอดคล้องกันกับอัตราการลำเลียงคอนกรีตและการเคลื่อนที่ของแบบหล่อสลิปฟอร์มที่เราใช้ในการเทด้วยนะครับ

 

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะทิ้งท้ายเอาไว้ในวันนี้ก็คือ การเทคอนกรีตโดยการใช้แบบสลิปฟอร์มนั้นถือได้ว่ามีประโยชน์มากๆ เลยนะครับ เพราะ จะสามารถช่วยให้งานการเทคอนกรีตนั้นสามารถทำออกมาได้อย่างรวดเร็ว สวยงามและเรียบร้อย แต่ เราในฐานะของคนที่ทำการก่อสร้างก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดีด้วย มิเช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้มากมายเลยนะครับ ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำการศึกษาหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ ให้รอบด้าน และ สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราควรที่จะทำการป้องกันเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการเทคอนกรีตชนิดดังกล่าวนี้เอาไว้ก่อน ดีกว่าที่จะปล่อยให้เกิดเหตุใดๆ ขึ้นแล้วค่อยมานั่งคิดวิธีในการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นการดีที่สุดครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com