ระบบฐานรากเป็นระบบเสาเข็ม (PILE FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะมาอธิบายต่อจากโพสต์เมื่อวาน โดยผมจะกล่าวถึงกรณีที่เราทำการใช้ระบบฐานรากเป็นระบบเสาเข็ม (PILE FOUNDATION) แต่ว่าครั้งนี้ปลายของเสาเข็มนั้นจะวางอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงแทนนะครับ

ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นดูรูปที่ผมแนบมาให้เพื่อนๆ ได้ดูก่อนนะครับ โดยในรูปจะแสดงสภาวะต่างๆ ของดินเริ่มตั้งแต่ STAGE 1 ไปจนถึง STAGE 3

ในรูปแรกคือ STAGE 1 จะแสดงให้เห็นถึงสภาพของดินโดยทั่วๆ ไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ นะครับ จะเห็นได้ว่าลักษณะธรรมชาติของชั้นดินทั่วๆ ไปในเขต กทม จะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับที่แสงดในรูปนะครับ คือ ชั้นดินชั้นบนๆ อย่างแย่ ก็จะเป็นดินเหนียวอ่อน หรือ อย่างดี ก็คือเป็นดินเหนียวแข็ง ซึ่งลักษณะธรรมชาติของดินเหนียวก็คือ ดินชนิดนี้จะไม่ค่อยแข็งแรง เนื้อดินจะค่อนข้างมีความหลวมตัวค่อนข้างมาก และ ในมวลดินจะมีน้ำใต้ดินแทรกตัวอยู่ค่อนข้างมากนะครับ

ในรูปที่สองคือ STAGE 2 จะแสดงภาพการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารไปบนชั้นดินชั้นนี้นะครับ ระบบฐานรากที่ใช้เป็นระบบฐานรากเสาเข็ม (PILE FOUNDATION) แต่ว่าครั้งนี้เราจะกำหนดให้ทำการวางปลายของเสาเข็มให้วางอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงแทนนะครับ โดยทันทีที่เราเริ่มการก่อสร้าง นน ของตัวอาคารก็จะเริ่มถ่ายลงมาผ่านตัวโครงสร้างเสาเข็มทีละน้อยๆ

ในรูปที่สามคือ STAGE 3 จะแสดงสภาวะที่มวลดินนั้นได้รับแรงเค้นจากเสาเข็มอย่างเต็มที่ โดยที่แรงเค้นทั้งหมดนี้จะกระจายตัวทั้งในชั้นดินอ่อนและชั้นดินแข็งเลยนะครับ พอน้ำใต้ดินได้รับแรงดันนี้ก็จะเกิดการ CONSOLIDATE ขึ้นดังนั้นผลของการเกิดสภาวะนี้จะทำให้น้ำในมวลดินนั้นจะระบายออกไป เมื่อน้ำถูกระบายออกไป ช่องว่างในมวลดินที่เคยมีน้ำอยู่ก็จะกลายเป็นช่องอากาศว่างๆ แทนนะครับ เมื่อเวลาค่อยๆ ผ่านไป เมื่อรับแรงดันมากขึ้นๆ มวลดินก็จะเกิดการแน่นตัวที่มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพราะ มวลดินจะเข้าไปแทนที่ช่องว่างที่เป็นอากาศนี้ ในครั้งนี้หากเราทำการวางปลายโครงสร้างเสาเข็มให้อยู่บนชั้นดินแข็งแทนที่จะเป็นชั้นดินอ่อนเหมือนในกรณีเมื่อวาน ก็จะทำให้ดินนั้นเกิดการทรุดตัว (SETTLEMENT) ลงมา แต่ ในครั้งนี้เนื่องจากปลายของเสาเข็มนั้นถูกวางอยู่บนชั้นดินแข็ง การทำแบบนี้จะทำให้ตัวโครงสร้างของเราไม่ทรุดตัวตามดินลงไปด้วยนะครับ

กรณีนี้เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ ในโครงสร้างหลายๆ โครงสร้างเลยนะครับ เช่น รอยต่อระหว่างฐานของอาคารกับตัวดิน ตอม่อสะพานลอย รอยต่อของสะพานข้ามคลอง หรือ สะพานข้ามแยกต่างๆ สิ่งที่จะเกิดในบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นดินกับตัวโครงสร้างจำพวกนี้ คือ ดินจะเกิดการทรุดตัวลงไปมาก แต่ ตัวโครงสร้างเองกลับไม่เกิดการทรุดตัวตามลงไป เป็นต้นนะครับ

การทรุดตัวแบบนี้จะมีข้อเสีย คือ ดินจะเกิดการทรุดตัวแตกต่างจากตัวโครงสร้างของอาคารค่อนข้างที่จะมาก ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงานดินถมและการบดอัดดินหลังจากที่ดินนั้นเกิดการทรุดตัวลงไปแล้ว แต่ ข้อดีก็คือ เราสามารถที่จะรักษาระดับของโครงสร้างที่เราตั้งใจทำการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มต้นทำการก่อสร้างได้นะครับ

เอาเป็นว่าในวันพรุ่งนี้ผมจะขอมาอธิบายถึงกรณีสุดท้ายก็แล้วกันนะครับ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการก่อสร้างที่จะทำให้ทั้งตัวดินและตัวโครงสร้างของอาคารนั้นไม่เกิดการการทรุดตัวในลักษณะที่แตกต่างกันแบบนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com