วิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ในสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายกับเพื่อนให้เข้าใจถึงเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องค่า SPT-N ของฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION กับฐานรากแบบลึกหรือ DEEP FOUNDATION ว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรไปแล้ว หลังจากนั้นก็มีน้องแฟนเพจท่านหนึ่งสอบถามเข้ามาโดยใจความของคำถามนั้นมีความต่อเนื่องจากเนื้อหาจากโพสต์ในสัปดาห์ก่อน โดยที่ใจความของคำถามก็คือ

 

“ผมอยากจะขอให้อาจารย์ช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกสักหน่อยว่า ในการประเมินระดับความลึกสำหรับฐานรากแบบตื้นแล้วนอกจากค่า SPT-N เรายังควรที่จะพิจารณาประเด็นหรือองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วยอีกหรือไม่ครับ ?”

 

อีกสักครั้งหนึ่งผมคงต้องขอชมน้องแฟนเพจท่านนี้เพราะต้องถือว่าคำถามๆ นี้ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งที่ต้องถือว่าดีมากๆ เลยล่ะ โดยผมจะขอตอบคำถามข้อนี้ให้ดังนี้นะครับ

ถูกต้อง แต่ ไม่ใช่เฉพาะค่า SPT-N เท่านั้นที่เราควรจะสนใจนะ อีกประการหนึ่งที่เรามิควรที่จะละเลยนั่นก็คือ เรื่องระดับของน้ำใต้ดิน นั่นเองครับ

 

สาเหตุที่ผมกล่าวเช่นนี้เป็นเพราะว่า ฐานรากแบบตื้นจะได้รับผลกระทบจากการมีหรือไม่มีของน้ำใต้ดิน โดยหากเพื่อนๆ ยังจำกันได้ผมเคยได้นำเอาความรู้เกี่ยวข้องกับประเด็นๆ เอามาฝากเพื่อนๆ ไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งผมคงต้องขอย้อนและนำเอาเนื้อของโพสต์ก่อนหน้านี้มาพูดถึงกันอีกสักรอบหนึ่งนะครับ

 

ในการโพสต์ในครั้งนั้นผมได้พูดถึงเรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI อีกทั้งผมยังได้ทำการสรุปประเด็นเรื่องน้ำใต้ดินนี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบด้วย โดยที่ผมได้ทำการแบ่งกรณีของน้ำใต้ดินนี้ออกเป็นกรณีๆ เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนจะได้เข้าใจและนำไปใช้ในการคำนวณได้ถูกต้องด้วย โดยที่เพื่อนๆ สามารถจะดูได้จากรูปประกอบได้ อีกทั้งคำนิยามของค่าต่างๆ ผมก็ได้ทำการอธิบายไว้ด้วยว่าจะมีความหมายและรายละเอียดดังต่อไปนี้

ค่า D1 คือ ระยะระหว่างผิวดินจนถึงระดับของน้ำใต้ดิน

ค่า D2 คือ ระยะจากระดับของน้ำใต้ดินจนถึงระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่

ค่า Df คือ ระยะจากผิวของดินไปจนถึงระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่

ค่า B คือ ระยะความกว้างของฐานรากของเราในด้านรูปตัดที่กำลังทำการพิจารณาออกแบบอยู่

ค่า d คือ ระยะระหว่างระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่จนถึงระดับของน้ำใต้ดิน

ค่า γ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ(w) คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของน้ำต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ(sat) คือ ค่าหน่วยน้ำหนักแบบอิ่มตัวของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ’ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตรที่ได้รับการดัดแปลงจากผลของการที่มวลดินนั้นมีน้ำใต้ดินอยู่สำหรับกรณีที่ 1

ค่า γ’’ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตรที่ได้รับการดัดแปลงจากผลของการที่มวลดินนั้นมีน้ำใต้ดินอยู่สำหรับกรณีที่ 2

(I) สำหรับกรณีที่ 1

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ระหว่างระดับของผิวดินแต่ว่าระดับของน้ำใต้ดินดังกล่าวนี้จะยังอยู่สูงเหนือกว่าระดับของฐานรากของเรา ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

0 < D1 ≤ Df

หากเป็นเช่นนี้เราจะต้องทำการเปลี่ยนค่า q ซึ่งเดิมทีมีค่าเท่ากับ γ Df ทำให้กลายเป็นค่า q’ หรือค่า EFFECTIVE SURCHARGE เสียก่อน ซึ่งก็สามารถทำการคำนวณได้จาก

q’ = D1 γ + D2 [ γ(sat) – γ(w) ]

และก็ทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’ โดยที่ค่าๆ นี้จะสามารถทำการคำนวณหาได้จาก

γ’ = γ(sat) – γ(w)

(II) สำหรับกรณีที่ 2

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะยังมีค่าน้อยกว่าระยะ Df และ B รวมกัน ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

Df < D1 ≤ Df + B

หากเป็นเช่นนี้เราจะสามารถใช้ค่า q ในการคำนวณได้ตามกรณีปกติแต่จะต้องทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’’ โดยที่ค่าๆ นี้จะสามารถทำการคำนวณหาได้จาก

γ’’ = γ’ + d/B ( γ – γ’ )

(III) สำหรับกรณีที่ 3

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะมีค่าต่ำกว่าระดับ Df และ B รวมกัน ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

D1 ≥ Df + B

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อระดับของน้ำใต้ดินที่ระดับของความลึกมากขนาดนี้ นั่นก็หมายความว่า ระดับของน้ำใต้ดินก็จะไม่มีผลอะไรต่อการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินแล้วนั่นเองครับ

 

ผมคิดว่าการที่ผมได้ทำการอ้างอิงไปยังโพสต์เก่าของผมที่ได้ทำการหยิบยกและแยกเอากรณีต่างๆ ของน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็นกรณีๆ เช่นนี้จะทำให้เพื่อนๆ ทุกคนนั้นสามารถที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องของวิธีในการคำนึงถึงผลของระดับน้ำใต้ดินที่จะมีต่อค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินในฐานรากแบบตื้นได้ ซึ่งผมแค่มีจุดประสงค์ของการโพสต์ในวันนี้ว่า เมื่อเพื่อนๆ จะทำการเลือกระดับความลึกของฐานราแบบตื้น นอกจากเพื่อนๆ จะพิจารณาที่ค่า SPT-N แล้ว เพื่อนๆ ก็ยังควรที่จะคำนึงถึงเรื่องระดับของน้ำใต้ดินด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ในการประเมินระดับความลึกสำหรับฐานรากแบบตื้นแล้วนอกจากค่าSPTNเรายังควรที่จะพิจารณาองค์ประกอบอื่นร่วมด้วยอีกหรือไม่

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com