เรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI | ไมโครไพล์ ภูมิสยามฯ

เรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI | ไมโครไพล์ ภูมิสยามฯ

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงเรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI ให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสรับทราบกันไปแล้ว รวมถึงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมยังได้ทำการหยิบยกเอาประเด็นเรื่องผลของระดับน้ำใต้ดินที่มีต่อค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินมาเป็นคำถามประจำสัปดาห์ให้แก่เพื่อนๆ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมไปแล้วด้วย ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการสรุปประเด็นเรื่องน้ำใต้ดินนี้โดยจะทำการแบ่งกรณีของน้ำใต้ดินนี้ออกเป็นกรณีๆ เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนจะได้เข้าใจและนำไปใช้ในการคำนวณได้ถูกต้องนั่นเองครับ

Knowledge boring log micropile ไมโครไพล์

เพราะฉะนั้นก่อนที่ผมจะเริ่มต้นทำการอธิบาย ผมจะให้คำนิยามของค่าต่างๆ ว่าจะมีความหมายเป็นไปตามรายละเอียดดังต่อไปนี้นะครับ

ค่า D1 คือ ระยะระหว่างผิวดินจนถึงระดับของน้ำใต้ดิน

ค่า D2 คือ ระยะจากระดับของน้ำใต้ดินจนถึงระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่

ค่า Df คือ ระยะจากผิวของดินไปจนถึงระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่

ค่า B คือ ระยะความกว้างของฐานรากของเราในด้านรูปตัดที่กำลังทำการพิจารณาออกแบบอยู่

ค่า d คือ ระยะระหว่างระดับที่ฐานรากนั้นมีการวางตัวอยู่จนถึงระดับของน้ำใต้ดิน

ค่า γ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ(w) คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของน้ำต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ(sat) คือ ค่าหน่วยน้ำหนักแบบอิ่มตัวของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตร

ค่า γ’ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตรที่ได้รับการดัดแปลงจากผลของการที่มวลดินนั้นมีน้ำใต้ดินอยู่สำหรับกรณีที่ 1

ค่า γ’’ คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินต่อ 1 หน่วยปริมาตรที่ได้รับการดัดแปลงจากผลของการที่มวลดินนั้นมีน้ำใต้ดินอยู่สำหรับกรณีที่ 2

(I) กรณีที่ 1

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ระหว่างระดับของผิวดินแต่ว่าระดับของน้ำใต้ดินดังกล่าวนี้จะยังอยู่สูงเหนือกว่าระดับของฐานรากของเรา

ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

0 < D1 ≤ Df

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เราจะต้องทำการเปลี่ยนค่า q ซึ่งเดิมทีมีค่าเท่ากับ γ Df ทำให้กลายเป็นค่า q’ หรือค่า EFFECTIVE SURCHARGE เสียก่อน ซึ่งก็สามารถทำการคำนวณได้จาก

q’ = D1 γ + D2 [ γ(sat) – γ(w) ]

และก็ทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’ โดยที่ค่าๆ นี้จะสามารถทำการคำนวณหาได้จาก

γ’ = γ(sat) – γ(w)

(II) กรณีที่ 2

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะยังมีค่าน้อยกว่าระยะ Df และ B รวมกัน

ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

Df < D1 ≤ Df + B

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เราจะสามารถใช้ค่า q ในการคำนวณได้ตามกรณีปกติแต่จะต้องทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’’ โดยที่ค่าๆ นี้จะสามารถทำการคำนวณหาได้จาก

γ’’ = γ’ + d/B ( γ – γ’ )

(III) กรณีที่ 3

กรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะมีค่าต่ำกว่าระดับ Df และ B รวมกัน

ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

D1 ≥ Df + B

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลยหรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ เมื่อระดับของน้ำใต้ดินที่ระดับของความลึกมากขนาดนี้ นั่นก็หมายความว่า ระดับของน้ำใต้ดินก็จะไม่มีผลอะไรต่อการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินแล้วนั่นเองครับ

ผมคิดว่าการที่ผมได้ทำการหยิบยกและแยกเอากรณีต่างๆ ของน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็นกรณีๆ เช่นนี้ น่าที่จะทำให้เพื่อนๆ ทุกคนสามารถที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องของวิธีในการคำนึงถึงผลของระดับน้ำใต้ดินที่จะมีต่อค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินได้โดยที่ไม่ยากจนเกินไปนักและผมก็มีความคาดหวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าเราจะกลับพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายผลของระดับน้ำใต้ดินที่จะมีต่อค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินโดยแบ่งออกเป็นทั้งหมดสามกรณีหลัก


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตเสาเข็ม Spun MicroPile รายแรก
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun