สมการการเสียรูปของชิ้นส่วนซึ่งรับแรงตามแนวแกน (AXIAL DEFORMATION OF BARS)
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ คน วันนี้ผมมีโอกาสได้คุยกับรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่กำลังเตรียมตัวจะสอบเลื่อนขั้น ก็พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องความรู้ในระดับพื้นฐาน และ ขั้นสูงต่างๆ ที่ผมได้นำมาเล่าและทบทวนให้แก่เพื่อนๆ ไปว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใดควรที่จะทบทวน ผมก็พบว่า น้องคนนี้รวมถึงวิศวกรหลายๆ ท่านไม่ทราบหรืออาจจะแค่ลืมถึงทฤษฎีพื้นฐานที่มีความสำคัญหลายๆ อย่างไปจากตอนที่เรียน ซึ่งปัญหาของการหลงลืมสิ่งเหล่านี้ก็คือทฤษฎีพื้นฐานเหล่านี้จะมีผลสำคัญต่อการนำความรู้ไปต่อยอดในระดับสูงนั่นเอง ผมจึงคิดว่าในช่วงเวลาต่อไปนี้ ผมจะทำการนำพื้นฐานความรู้ต่างๆ มาทบทวนให้แก่เพื่อนๆ กันสักหน่อยนะครับ เพื่อเพื่อนๆ จะได้มีความเข้าใจ … Read More
ข้อควรพึงระวัง เมื่อเราต้องทำการเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนกรีตประเภทนี้อีกสักเล็กน้อย โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องของข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์มให้แก่เพื่อนๆ นะครับ ผมได้ทำการสรุปข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องทำการเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้ครับ … Read More
การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม
การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม ในการใช้งานเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มในอาคารนั้น มีกำลังในการรับน้ำหนักที่สูงที่สุด และมีการทรุดตัวของเสาเข็มที่น้อยที่สุดด้วย หากเลือกระหว่างการเลือกใช้งานระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว SINGLE PILE กับระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม GROUP PILES แนะนำให้ใช้เป็นระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว เพราะ หากเลือกอาศัยระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม จะพบว่า กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มนั้นจะมีค่าที่ … Read More
คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)
คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More