ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน

สวัสดี ทุกๆท่านครับ มาอยู่กับ Mr.เสาเข็ม เช่นเคยพร้อมสาระความรู้ เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม วันนี้เป็นเรื่อง ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน

shear force diagram micropile

ใน ตัวอย่างนี้ ผมขอยกตัวอย่าง คานคอนกรีตเสริมเหล็ก อันหนึ่งที่มีการวางตัวอย่างง่าย (SIMPLY SUPPORTED) ที่มีช่วงความยาวเท่ากับ 8 ม คานๆ นี้มีขนาดความลึกเท่ากับ 0.70 ม ทำให้มีระยะความลึกประสิทธิผล (d) โดยประมาณเท่ากับ 0.65 ม โดยที่คานๆ นี้รับ นน บรรทุกแบบเพิ่มค่าชนิดแผ่ (FACTORED DISTRIBUTED LOAD) กระทำที่ด้านบนของคานเท่ากับ 10 TONS/M และ คานๆ นี้ถูกรองรับด้วยเสา คสล ขนาดความกว้างเท่ากับ 0.50 x 0.50 ม

เราจะมาเริ่มต้นทำการวิเคราะห์โครงสร้างกันก่อนนะครับ เริ่มต้นที่ค่า SHEAR FORCE สูงสุดที่จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งศูนย์กลางของจุดรองรับกันก่อนนะครับ

Vu (MAXIMUM) = 10×8/2 = 40 TONS

ต่อมาเราจะมาคำนวณค่า SHEAR FORCE ที่จะใช้ในการออกแบบ ณ ตำแหน่งหน้าตัดวิกฤติกันนะครับ โดยที่ตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ระยะ d จากขอบของเสา ดังนั้นระยะทั้งหมดจากตำแหน่งศูนย์กลางของจุดรองรับจนถึงหน้าตัดวิกฤติจะเท่ากับ 0.50/2 + 0.65 = 0.90 ม ทำให้ค่า SHEAR FORCE ที่จะใช้ในการออกแบบจะมีค่าเท่ากับ

Vu (DESIGN) = 40 – 10×0.9 = 31 TONS

หากสังเกตดูจะพบว่า Vu ที่เป็นค่า MAXIMUM และค่า Vu ที่เป็นค่าสำหรับการ DESIGN จะมีค่าที่แตกต่างกันมากเลยนะครับ โดยหากเทียบสัดส่วนออกมาจะพบว่าค่าที่ใช้ในการ DESIGN นั้นจะมีค่าแตกต่างออกไปจากค่า MAXIMUM ที่เรามักนำมาใช้ในการออกแบบเลยเท่ากับ (40-31)/40 x 100 = 22.5% เลยนะครับ

ที่ผมกล่าวให้ฟังมาทั้งหมดนี้จะเป็นไปตามทฤษฎีที่ CODE แนะนำให้เราใช้นะครับ ไม่ว่าจะเป็น ACI (AMERICAN CONCRETE INSTITUTE) หรือ EIT (ENGINEERING INSTITUTE OF THAILAND) ก็ตามนะครับ แต่ ในฐานะของผู้ออกแบบการที่เราจะทำตามข้อแนะนำข้อนี้หรือเปล่านั้นถือเป็นวิจารณญาณของเรานะครับ เพราะ ในการออกแบบนอกจากเรื่องความประหยัดที่เราควรต้องคำนึงถึงแล้ว เราเองยังจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาถึงทุกๆ อย่างที่มีความเกี่ยวข้องด้วยนะครับ เช่น สภาพการทำงานของผู้รับจ้างที่หน้างาน และ สภาพแวดล้อมในการทำงานว่าจะสามารถทำการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบได้ดีมากน้อยเพียงใด เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1516290741750379

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449