ระบบพื้น POST-TENSIONED

ระบบพื้น POST-TENSIONED

micropile เสาเข็มสปันไมโครไพล์

ระบบพื้น POST-TENSIONED ที่มักจะทำการออกแรงดึงลวดที่ 75% ของค่าแรงดึงสูงสุดนั้น เพราะเหตุใดจึงต้องทำการออกแรงดึงที่ค่าๆ นี้ และ จะดึงด้วยค่าอื่นที่อาจต่ำ หรือ สูงกว่าค่าๆ นี้ได้หรือไม่ ?

คำตอบ คือ ได้ครับ แต่ ต้องมีประโยคที่เป็นข้อแม้ต่อท้ายด้วยนะครับ คือ จะทำให้เกิดผลเสียตามมาพฤติกรรมของตัวโครงสร้างนั่นเองครับ นั่นก็คือ พฤติกรรมการคลายแรงดึงของลวด นั่นเอง พฤติกรรมนี้คืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันด้วยกันนะครับ

การคลายแรงดึง หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า RELAXATION คือ พฤติกรรมที่เหล็กหรือลวดอัดแรงนั้นเกิดการสูญเสียแรงไปโดยที่ความยาวของเหล็กยังคงเท่าเดิม ซึ่งพฤติกรรมนี้มีพื้นฐานคล้ายกันกับการคืบ หรือ CREEP ในวัสดุคอนกรีต ซึ่งมีนิยามเป็นการเปลี่ยนแปลงความยาวของวัสดุภายใต้สภาวะหน่วยแรงนั้นมีค่าคงที่ โดยที่ปรากฎการณ์ RELAXATION นี้ถือเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว (LONG TERM) แต่จะต่อเนื่องต่อไปไม่มีสิ้นสุดถึงแม้ว่าอัตราการเกิดจะมีค่าค่อยๆ ลดน้อยลงก็ตามนะครับ

ปริมาณของการเกิด RELAXATION นั้นจะแปรเปลี่ยนไปตาม ประเภท และ เกรด ของเหล็ก แต่ ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุด คือ เวลา และ ค่าความเข้มข้นของหน่วยแรงเริ่มแรก นั่นเองครับ

การคลายแรงดึงของลวดเหล็กจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มแรก และ อัตรานี้จะเกิดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไป เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้เราจึงนิยมแสดงระยะเวลาด้วยกราฟ LOG SCALE จะเป็นการช่วยทำให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ

ดูรูปประกอบได้นะครับ โดยที่ในรูปๆ นี้เป็นแผนภูมิเส้นแสดงการเกิด RELAXATION เมื่อเทียบกับระยะเวลาของตัวอย่างลวดตีเกลียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 12.7 มม ชนิดมีค่ากำลังประลัยเท่ากับ 19,000 KSC นะครับ

โดยอย่างที่ผมบอกไปนะครับว่า RELAXATION นี้จะเกิดขึ้นอยู่กับ ค่าความเข้มข้นของหน่วยแรงเริ่มแรก พูดง่ายๆ คือ RELAXATION จะเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้า หากว่าแรงดึงเริ่มต้นที่ใช้นั้นมีค่าที่สูง จะเห็นได้จากในรูปนะครับว่าการเพิ่มแรงดึงจาก 60% เป็น 70% ค่า RELAXATION จะเพิ่มขึ้นประมาณ 12% หรือ จะทำให้ RELAXATION เพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า และ ถ้าเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 80% ค่า RELAXATION จะเพิ่มขึ้นประมาณ 33% หรือ จะทำให้ RELAXATION เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เท่า

ด้วยเหตุผลนี้เองนะครับจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงนิยมทำการออกแรงดึงเริ่มต้นที่ประมาณ 70% ถึง 75% ของค่าแรงดึงสูงสุดของลวดแดแรงนะครับ

โดยที่คุณสมบัติของการคลายแรงดึงที่ต่ำของลวดเหล็กกล้าตีเกลียว หรือ ที่เราเรียกกันว่า LOW-RELAXATION STEEL จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากๆ เลยนะครับ เพราะ เหล็กเสริมจะต้องอยู่ภายใต้สภาวะแรงดึงที่สูงมากๆ ตลอดอายุการใช้งาน หากไม่ใช้เหล็กเสริมที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว พฤติกรรมการเกิด RELAXATION อาจจะเกิดขึ้นมากจนทำให้เหลือแรงดึงเพียงเล็กน้อยจนในที่สุดทำให้โครงสร้าง คอร นั้นๆ เกิดรอยร้าวและวิบัติในที่สุดครับ และ สืบเนื่องจากการที่ลวดเหล็กกล้า และ ลวดเหล็กตีเกลียว นั้นเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของปริมาณคาร์บอนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจะต้องใช้กระบวนการทางความร้อนในการผลิตจึงจะทำให้คุณสมบัตินั้นเหมาะกับงาน คอร หรือ กล่าวคือ มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเมื่อใดที่ได้รับความร้อนจนอุณหภูมินั้นมีค่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ค่ากำลังดึงประลัย กำลังดึงที่จุดคลาก และ ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นตัว นั้นมีค่าลดลงอย่างรวดเร็ว และ หากว่ามีอุณหภูมิที่สูงมากกว่า 425 องศาเซลเซียส จะทำให้เหล็กสูญเสียกำลังไปโดยถาวรถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะลดลงมาเป็นอุณหภูมิปกติแล้วก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าจะนำลวดเหล็กกล้านี้กลับไปผ่านกระบวนการกรรมวิธีทางความร้อนใหม่อีกครั้ง ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย

ด้วยเหตุผลนี้เองนะครับเราจึงห้ามทำการเชื่อมต่อลวดเล็กกล้าด้วยการเชื่อม ด้วยไฟฟ้า หรือ ด้วยความร้อน โดยเด็ดขาดนะครับ และ หากพบว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของลวดเหล็กนี้ได้รับความร้อนที่สูงเกินกว่า 425 องศาเซลเซียส เราห้ามนำลวดเหล็กนั้นมาใช้โดยเด็ดขาดอีกเช่นกัน เช่น เกิดเหตุเพลิงไหม้ จะก่อนหรือหลัง การหล่อพื้น คอร ก็ตามแต่ จะต้องมีการตรวจสอบ และ ทดสอบ อย่างละเอียดถึงสภาพความสามารถในการใช้งานได้ของลวดอัดแรงหรือโครงสร้างนั้นๆ ก่อนที่เราจะนำลวดหรือโครงสร้างนั้นๆ กลับมาใช้งาน เป็นต้นนะครับ

ดังนั้นหากยังมีเพื่อนๆ ท่านใดที่ยังมีความเข้าใจตรงจุดๆ นี้ผิดอยู่ ว่าเราสามารถทำการต่อทาบโดยการเชื่อมเหล็กด้วยกระบวนการไฟฟ้า หรือ การให้ความร้อน ได้อยู่ ก็ขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่นะครับ เพราะ ว่ามันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งโดยที่ท่านอาจจะแค่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1555512097828243

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์