SHALLOW FOUNDATION และ FLEXIBLE SUPPORT 

SHALLOW FOUNDATION และ FLEXIBLE SUPPORT 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมอยู่ที่ไต้หวันได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องๆ หนึ่งและผมก็ได้รับปากว่า เมื่อใดที่ผมกลับมาที่ประเทศไทยเมื่อใดผมจะรีบดูให้ ซึ่งประเด็นและใจความของคำถามข้อนี้นมีดังต่อไปนี้ครับ

“ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC SPRING ซึ่งตอนนี้ผมกำลังมีปัญหาว่า ผมไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งหรือ STIFFNESS ในทิศทางของแกน x y และ z ได้อย่างไร รบกวนช่วยขอคำชี้แนะด้วยครับ”

ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตชมเชยเพื่อนท่านนี้ก่อนที่เพื่อนของผมท่านนี้มีความสนใจและเข้าใจอย่างถูกต้องว่า ส่วนใหญ่แล้วฐานรากแบบตื้นนั้นจะมีสภาพเป็นจุดรองที่สามารถจะเสียรูปได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการคำนวรหาค่าความแข็งแกร่งของแต่ละแกนออกมาเพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเราครับ

เอาละ ในโพสต์ๆ นี้ผมจะขออนุญาตเริ่มต้นให้คำแนะนำถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินเอาไว้โดยสังเขปดังต่อไปนี้ก็แล้วกันนะครับ

เริ่มต้นจากขั้นตอนของการทำการสำรวจข้อมูลของชั้นดินเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า คุณสมบัติของดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นใด

ขั้นตอนต่อมาคือ เพื่อนๆ อาจจะแจ้งให้แก่บริษัทที่รับจ้างทำหน้าที่ในการสำรวจดินให้ช่วยทำการวิเคราะห์คำนวณค่า Kv Kh และ Kr ให้แก่เพื่อนๆ ก็ได้หรือหากว่าบริษัทดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำการคำนวณให้แก่เพื่อนๆ ได้เนื่องด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เพื่อนๆ ก็อาจจะทำการคำนวณหาค่าทั้งสามนี้ด้วยตัวเองก็ได้ โดยอาจจะทำการคำนวณหาค่าๆ นี้จากทฤษฎีใดๆ ก็ได้ที่เพื่อนๆ อาจจะมีความถนัดและสะดวก ซึ่งในวันนี้ผมจะขอแนะนำให้เพื่อนๆ นั้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในแต่ละแกนข้างต้นจากเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแข็งแกร่งของดินกับค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินหรือ SHEAR MODULUS OF SOIL หรือ Gsoil นั่นเอง

ทั้งนี้ค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินเองก็จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือ ELASTIC MODULUS OF SOIL หรือ Esoil ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของชั้นดินของเพื่อนๆ โดยที่เพื่อนๆ อาจจะใช้ค่าที่ BOWLES ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะครับ

อีกค่าหนึ่งที่เราควรจะทราบก็คือ ค่าอัตราส่วนปัวซองต์ซองของดินหรือ POISSON’S RATIO OF SOIL หรือค่า vsoil ซึ่งค่าๆ นี้จะมีค่าโดยประมาณอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.50 จากนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินได้จากสมการๆ นี้

Gsoil = Esoil / 2(1+vsoil)

จริงๆ เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้ยังจะต้องพูดกันต่ออีกสักพักใหญ่แต่ไม่เป็นไรนะครับ ผมจะขออนุญาตหยุดพักเนื้อหาของสัปดาห์นี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนไม่อย่างนั้นเพื่อนๆ อาจจะมองว่าโพสต์นี้มันยืดยาวและน่าเบื่อมากจนเกินไปและในที่สุดก็อาจจะทำให้เพื่อนๆ ไม่สามารถที่จะจับใจความสำคัญของเรื่องๆ นี้ได้ ยังไงผมจะมาพูดถึงประเด็นๆ นี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อในสัปดาห์หน้าก็แล้วกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่1

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ 
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586