ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

จริงๆ แล้วเนื้อหาของการโพสต์ในวันนี้ยังคงวนเวียนอยู่ในเรื่องเดิมๆ จากเนื้อหาของเมื่อ 2 วัน ก่อนหน้านี้นั่นก็คือ เรื่อง การที่เสาเข็มต้องรับแรงดึง นั่นเองนะครับ

 

โดยที่ได้มีคำถามเข้ามาจากเพื่อนๆ หลายๆ คนถามกันเข้ามาว่า เสาเข็มรับแรงดึงนั้นพอเข้าใจ แต่ ว่าตัวของ ดิน เองนั้นจะสามารถรับ แรงดึง ที่เกิดขึ้นได้ด้วยหรือ ?

 

ในเมื่อวันนี้เป็นเนื้อหาการโพสต์ที่ว่าด้วยเรื่องของวิศวกรรมงานดินเป็นหลัก ผมจึงนำเอาคำตอบของคำถามๆ นี้มาแทรกเนื้อหา และ ทำการตอบให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ

 

ใช่ครับ ดิน นั้นสามารถที่จะรับ แรงดึง ได้นะครับ ซึ่งก็จะคล้ายๆ กันกับหลักการทางด้านการคำนวณหาค่าการรับแรงอัดของเสาเข็มทั่วๆ ไปว่า แรงดึง ที่ดินจะสามารถรับได้นี้จะเป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับ แรงฝืดที่ผิว หรือ SKIN FRICTION ที่เกิดขึ้นระหว่าง ดิน และ เสาเข็ม เป็นหลักเลย แต่ เนื่องด้วยสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าทั้งสองนี้จะมีความแตกต่างกัน เลยทำให้บางครั้งค่าความสามารถในการรับ แรงดึง ของเสาเข็มหากทำการเปรียบเทียบกับความสามารถในการรับ แรงอัด ของเสาเข็มนั้นบางครั้งก็จะมีค่า เท่ากัน หรือ บางครั้งก็จะมีค่า มากกว่า ด้วยซ้ำไป !!!

 

ใช่ครับ เพื่อนๆ ไม่ได้อ่านประโยคข้างต้นผิดไปครับ นั่นเป็นเพราะ สมการในการคำนวณหาค่า แรงดึง ที่ยอมให้ของเสาเข็มนั้นมีค่าเท่ากับ

 

Qt = (Qf/FS) + Wp

 

ส่วนสมการในการคำนวณหาค่า แรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็มนั้นจะมีค่าเท่ากับ

 

Qa = [(Qf + Qe)/FS] – NF – Wp

 

โดยที่

 

Qt คือ ค่าแรงดึงที่ยอมให้ของเสาเข็ม

 

Qa คือ ค่าแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม

 

Qf คือ ค่าแรงฝืดประลัยที่ผิวของเสาเข็ม

 

Qe คือ ค่าแรงอัดประลัยที่ปลายของเสาเข็ม

 

NF คือ ค่าแรงฉุดของเสาเข็ม

 

Wp คือ ค่าน้ำหนักของตัวเสาเข็ม

 

FS คือ ค่าสัดส่วนความปลอดภัยที่นำมาใช้ในการคำนวณ

 

ซึ่งหลักๆ แล้วเราจะพบเห็นได้ว่าในสมการๆ คำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงดึงของเสาเข็มนั้นจะมีทั้งหมดเพียง 2 เทอมหลักๆ และ แต่ละเทอมก็จะทำการบวกกันทั้งหมดเลยนะครับ

 

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงอัดของเสาเข็มซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 4 เทอม ด้วยกันและ บางเทอมเมื่อนำมาคำนวณแล้วยังต้องทำการลบออกด้วยซ้ำไปน่ะครับ

 

เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่อง ดิน นั้นจะสามารถรับแรงดึง ได้ หรือ ไม่ วันนี้ผมคิดว่าผมน่าที่จะตอบได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาที่สุดแล้วนะครับว่าเป็นอย่างไรนะครับ

 

เอาเป็นว่าในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการขยายความในส่วนๆ นี้ให้ลึกและละเอียดมากยิ่งขึ้นไปอีกก็แล้วกัน และ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในโอกาสหน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#ดินมีความสามารถที่จะรับแรงดึงได้หรือไม่?

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com