การออกแบบงานวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง

การออกแบบงานวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL DYNAMICS DESIGN ENGINEERING หรือ SDE) นะครับ วันนี้ผมมีรูป ตย ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับกรณีที่โครงสร้างอาคารนั้นเกิดการวิบัติอันเนื่องมาจากไม่สามารถต้านทานต่อ นน บรรทุกแรงลม (WIND LOAD) ที่เกิดขึ้นโดยที่แรงลมที่เกิดขึ้นนี้มีค่าที่สูงและมีความแปรปรวนและกรรโชกมากๆ ได้เข้ามาปะทะกับตัวอาคารจนอาคารๆ นี้เกิดการวิบัติขึ้น … Read More

ฉนวน ในอาคาร

ฉนวน ในอาคาร ฉนวน ในอาคาร สำคัญ ต้องลดความร้อน เข้าอาคารที่มาจากหลังคา 70%มาจากผนังรอบๆข้างอีก30% เรามัก ใช้เครื่องปรับอากาศ มาช่วย ให้เย็น จึงทำให้เสียค่าไฟฟ้าเยอะ เราควรติดฉนวนที่ผนัง หรือลดความร้อน ด้วยการใช้วัสดุ ที่ลดความร้อนที่ผนัง ที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1628196073893178 … Read More

การหันด้านแกนแข็ง (STRONG AXIS) ของโครงสร้างมาใช้ในการรับแรง

การหันด้านแกนแข็ง (STRONG AXIS) ของโครงสร้างมาใช้ในการรับแรง ดูจากรูปภาพประกอบก็แล้วกันนะครับ หากเรามีคานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะมีด้านที่มีระยะที่น้อยเท่ากับระยะ b และ ก็จะมีด้านที่มีระยะที่มากเท่ากับระยะ h หากว่าเราต้องการที่จะให้คานๆ นี้มีความสามารถในการรับ นน ที่จะก่อให้เกิดผลตอบสนองในคานเป็นแรงดัดที่เกิดขึ้นโดยมี ค่าแรงเค้นดัด (BENDING STRESS) ที่น้อย และ … Read More

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN) ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงเรื่องแรงๆ หนึ่งที่ต้องถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้าง คสล ที่เรามิอาจที่จะละเลยไม่ทำการออกแบบได้ นั่นก็คือ แรงโมเมนต์บิด หรือว่า TORSIONAL MOMENT FORCE นั่นเองนะครับ แรงโมเมนต์บิดนั้นจะเกิดขึ้นในองค์อาคารก็ต่อเมื่อต้องรับน้ำหนักบรรทุกแบบเยื้องศูนย์ออกห่างจากแนวแกนองค์ของอาคาร เช่น … Read More

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามสั้นๆ ง่ายๆ แต่ น่าจะมีประโยชน์ที่เพื่อนของผมท่านหนึ่งเคยสอบถามผมไว้พักใหญ่ๆ แล้วข้อหนึ่ง นั่นก็คือ “หากว่ามีความประสงค์ที่จะทำการขุดและถมดินในบริเวณที่ดินที่ซื้อเอาไว้ อยากที่จะรบกวนให้ผมช่วยทำการอธิบายและเล่าให้ทราบถึงข้อพิจารณาในการทำงานขุดและถมดินให้ได้ทราบได้หรือไม่ครับ ?” การทำงานการขุดและถมดินเป็นการนำ หรือ เคลื่อนย้ายดินจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งเพื่อให้ระดับของดิน … Read More

ระยะการยุบตัว หรือ Slump

ระยะการยุบตัว หรือ Slump ทราบกันหรือไม่ครับว่าเพราะเหตุใดค่าการยุบตัว หรือ SLUMP นี้จึงมีความสำคัญมากในการทำงานก่อสร้างโครงสร้าง คสล ? เพื่อนๆ ต้องไม่ลืมว่าในโครงสร้าง คสล นั้นนอกจาก คอนกรีต แล้วยังมี เหล็ก เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อเราทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบที่มีเหล็กเสริมอยู่ เราจึงต้องมั่นใจได้ว่า คุณสมบัติของวัสดุทั้งสองเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่ทำให้โครงสร้างนั้นอ่อนแอลง … Read More

การแบ่งการทดสอบเสาเข็มมีแบบใดได้บ้าง หากต้องการทดสอบว่าเสาเข็มมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ควรใช้วิธีการใดในการทดสอบ ?

เราสามารถที่จะทำการแบ่งออกได้เป็นการทดสอบเสาเข็มแบบใดได้บ้าง และ หากเราต้องการที่จะทำการทดสอบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เราควรที่จะใช้วิธีการใดในการทดสอบ ? ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ 1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST) ในการทดสอบเสาเข็มตามกรรมวิธีนี้ เราอาจจะทำการทดสอบเสาเข็มได้โดยวิธี SEISMIC TEST ก็ได้นะครับ ซึ่งข้อจำกัดจริงๆ … Read More

การคำนวณการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มยาว

การคำนวณการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มยาว ความยาวของเสาเข็มที่เราใช้นั้นเริ่มที่จะไม่ค่อยสอดคล้องกันกับข้อเท็จจริงๆ ที่เป็นแล้ว เพราะ หากว่าเราใช้ความยาวเสาเข็มที่มีความยาวมากๆ ปลายของเสาเข็มของเรานั้นจะมีโอกาสที่จะหยั่งอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงจนสามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นเสาเข็มรับแรงแบกทาน (END BEARING PILE) ได้นะครับ สรุปง่ายๆ คือ ต่อให้เราใช้เสาเข็มที่มีความยาวมากขนาดไหน ค่ากำลังการรับ นน ของเสาเข็มนั้นจะสามารถคำนวณได้ก็จะมีโอกาสที่จะออกมาต่ำกว่าความเป็นจริงค่อนข้างสูงนั่นเองนะครับ เรามาดู ตย วันนี้กันดีกว่านะครับ โดย … Read More

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีการใช้ในงานการก่อสร้างโดยทั่วๆ ไป

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีการใช้ในงานการก่อสร้างโดยทั่วๆ ไป แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วๆ ไปนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ (1) แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คสล (2) แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร โดยปกติแล้วในการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็นแบบใดๆ ก็ตาม เรามักที่จะทำการก่อสร้างด้วยวิธีการที่มีความคล้ายคลึงกันนะครับ เริ่มต้นจากการนำแผ่นพื้นนี้มาวางพาดตามทิศทางที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดมาในแบบวิศวกรรมโครงสร้างบนคานที่ทำหน้าที่รับ นน … Read More

หากต้องการที่จะทำการต่อเติมบ้านพักอาศัยโดยอาศัยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม เราควรที่จะใช้เสาเข็มขนาดเท่าใดดี

หากต้องการที่จะทำการต่อเติมบ้านพักอาศัยโดยอาศัยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม เราควรที่จะใช้เสาเข็มขนาดเท่าใดดี ประการแรกนะครับ เพื่อนๆ ควรที่จะให้วิศวกรทำการคำนวณหา นน บรรทุกที่จะลงมายังเสาเข็มของเพื่อนๆ เสียก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วหากเราจะทำการต่อเติมอาคารบ้านเรือนของเรา จะ 1 ชั้น 2 ชั้น หรือว่า 3 ชั้น ก็แล้วแต่ หากวิศวกรเลือกวางระยะห่างของตอม่อให้มีความปกติ หรือ … Read More

1 2 3 4 5 6