วิธีการเลือกใช้ขนาดความหนาของโครงสร้าง ที่ทำให้ลักษณะของโครงสร้างมีความเป็น RIGID BODY

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ

ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานว่าเมื่อวานนี้จะเป็นโพสต์สุดท้ายของการตอบคำถามแล้วแต่พอผมโพสต์ไปก็ได้มีโอกาสสนทนากับรุ่นน้องที่ถามผมปัญหาข้อนี้กับผม โดยที่มีใจความว่า

 

“ขอบคุณพี่มากที่สละเวลาตอบคำถามของผม ตอนนี้ผมพอเข้าใจแล้ว ต่อไปผมจะระมัดระวังในการให้รายละเอียดต่างๆ ของจุดรองรับให้มีลักษณะที่ตรงตาม BOUNDARY CONDITIONS เพื่อไม่ให้เกิดผลใดๆ ต่อการวิเคราะห์โครงสร้าง ทีนี้ผมอยากจะถามเป็นคำถามสุดท้ายได้มั้ยพี่ ผมติดอยู่นิดเดียวตรงที่พี่แจ้งในข้อจำกัดในการใช้งานวิธีการ SIMPLIFY METHOD ในข้อที่ 2 ว่า วิธีการนี้จะให้คำตอบที่มีความแม่นตรงก็ต่อเมื่อ โครงสร้างของพื้น คาน หรือ ฐานราก ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักข้างบนจะต้องมีหน้าตัดที่มีลักษณะเป็นแบบแข็งแรงมากๆ หรือพูดง่ายๆ คือต้องมีหน้าตัดที่เป็นแบบ RIGID BODY ผมอยากจะทราบว่า หากผมต้องการที่จะเลือกใช้ความหนาของโครงสร้างที่เหมาะสมกับวิธีการๆ นี้ ผมควรที่จะมีวิธีในการคำนวณอย่างไรได้บ้างครับ ขอบคุณพี่มากๆ อีกครั้งนะครับ”

 

ก่อนอื่นเลย ผมต้องขออภัยเพื่อนๆ ก่อนนะครับที่ผมตัดสินใจนำเอาปัญหาข้อนี้มาตอบให้อีกครั้ง นั่นเป็นเพราะผมถือว่าไหนๆ ผมก็เสียเวลาตอบคำถามของน้องท่านนี้มาหลายวันเรียกว่าเกือบจะตลอดสัปดาห์นี้อยู่แล้ว ประกอบกับการที่คำถามข้อนี้จริงๆ แล้วก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย หากผมเลือกนำมาตอบให้เพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนก็น่าจะได้รับประโยชน์เช่นกัน ก็เอาเป็นว่าสัปดาห์นี้ทั้งสัปดาห์ผมขอสบละเวลาเพื่อทำการตอบคำถามข้อนี้แก่น้องท่านนี้ก็แล้วกันนะครับ

 

จริงๆ แล้ววิธีในการเลือกใช้ขนาดของความหนาของโครงสร้างที่จะทำให้ลักษณะของโครงสร้างนั้นมีความเป็น RIGID BODY นั้นผมเคยพูดไปหลายครั้งก่อนหน้านี้แล้ว หากเพื่อนๆ ย้อนกลับไปลองอ่านดูก็น่าจะหาได้ไม่ยากแต่ไม่เป็นไร ผมขอพูดซ้ำอีกสักรอบก็แล้วกัน นั่นก็คืออ้างอิงตามมาตรฐานการออกแบบของอังกฤษ หรือ BS 8110 CODE โดยหากผมให้ค่า hp เป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์ของเสาเข็ม (หน่วยเป็น มม) ค่า h เป็นขนาดของความหนาของโครงสร้างฐานรากขั้นต่ำที่ BS CODE แนะนำให้ใช้ (หน่วยเป็น มม) เราจะสามารถคำนวณขนาดของความหนาของโครงสร้างฐานรากได้จากการพิจารณาจากเรื่องขนาดของเสาเข็มที่ใช้ในการรับน้ำหนักว่า

 

หากว่าเสาเข็มของเรานั้นมีขนาด hp ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 550 มม ค่าขนาดความหนาของโครงสร้างที่ BS CODE แนะนำให้ใช้จะมีค่าเท่ากับ

 

h = 2 hp + 100

 

หากว่าเสาเข็มของเรานั้นมีขนาด hp ที่มากกว่า 550 มม ค่าขนาดความหนาของโครงสร้างที่ BS CODE แนะนำให้ใช้จะมีค่าเท่ากับ

 

h = 1/3 (8 hp – 600)

 

โดยที่ขนาดความหนาข้างต้นจะเป็นค่าที่คำนวณออกมาเพื่อให้โครงสร้างที่จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากทางด้านบนเพื่อให้สามารถที่จะถ่ายน้ำหนักหรือแรงต่อลงไปยังเสาเข็มที่อยู่ด้านล่างที่มีลักษณะต่างๆ ที่ดีและมีความเหมาะสม เช่น เรื่องการต้านทานต่อแรงเฉือน เรื่องสภาพของความเป็น RIGID BODY เรื่องระยะยึดเหนี่ยวของเหล็กเสริมต่างๆ ในเสาเข็มและฐานราก เป็นต้น โดยมีข้อแม้เพียงนิดเดียวว่าเสาเข็มที่จะใช้นั้นจะต้องมี ขนาด ระยะห่างในการวาง และ จำนวน ที่มีความเพียงพอและเหมาะสมด้วยนั่นเองครับ

 

ปล ขนาดความหนาที่คำนวณได้ข้างต้นเป็นเพียงขนาดความหนาขั้นต่ำเท่านั้น ดังนั้นหากคำนวณออกมาได้เท่าใดก็ไม่ควรใช้น้อยกว่าค่าๆ นี้และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมค่าความหนาที่เราทำการคำนวณได้นี้ก็ มัก ที่จะไม่ได้ทำให้โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีสภาพความเป็น RIGID BODY แบบสมบูรณ์ 100% แต่จะทำให้คำตอบที่ได้มีความคลาดเคลื่อนน้อยมากๆ กล่าวคือมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±10% นะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย ค่อนข้างที่จะง่ายมากๆ เลยใช่หรือไม่ครับ ?

 

ง่ายๆ และตรงไปตรงมาแบบนี้ผมคิดว่าเพื่อนๆ น่าที่จะนำหลักการข้อนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้โดยง่ายใช่มั้ยครับ ในลำดับต่อไปเรามาดูตัวอย่างสั้นๆ กันสักข้อดีกว่านะครับ

(รูปที่1)

จากรูปจะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างทั้งหมด 4 โครงสร้าง โดยที่ผมจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างทั้ง 4 นี้ด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์เพื่อทำการเปรียบเทียบคำตอบที่ได้ให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันนะครับ

 

โดยที่รูปบนสุดจะเป็นโครงสร้างพื้นที่ถูกรองรับด้วยจุดรองรับแบบที่ไม่สามารถเสียรูปได้ โดยที่ขนาดความหนาของพื้นในโครงสร้างนี้จะมีค่าเท่ากับที่ผมได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้คือ 200 มม

(รูปที่2)

รูปที่สองรองลงมาจะเป็นพื้นที่ถูกรองรับด้วยจุดรองรับแบบที่สามารถเสียรูปได้ โดยที่ขนาดความหนาของพื้นในโครงสร้างนี้จะมีค่าเท่ากับที่ผมได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้คือ 200 มม

(รูปที่3)

รูปที่สามจะเป็นพื้นที่ถูกรองรับด้วยจุดรองรับแบบที่สามารถเสียรูปได้ โดยที่ขนาดความหนาของพื้นในโครงสร้างนี้ผมจะทำการคำนวณค่าขนาดของความหนาตามที่ BS CODE ได้แนะนำให้ใช้ ซึ่งในปัญหาข้อนี้เราใช้เสาเข็มสั้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 150 มม ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 550 มม นั่นจะทำให้ค่าความหนาขั้นต่ำของพื้นของเรามีค่าเท่ากับ

 

h = 2 hp + 100

h = 2 x 150 + 100

h = 300 + 100

h = 400 mm

 

ดังนั้นผมก็เลือกกำหนดให้ใช้ขนาดของความหนาของพื้นนี้มีค่าเท่ากับที่คำนวณได้จากสมการข้างต้นโดยที่ไม่ได้ทำการปัดขึ้นหรือเผื่อใดๆ เลยนะครับ

(รูปที่4)

รูปที่สี่ซึ่งเป็นรูปสุดท้ายจะเป็นพื้นที่ถูกรองรับด้วยจุดรองรับแบบที่สามารถเสียรูปได้ โดยที่ขนาดความหนาของพื้นในโครงสร้างนี้จะมีค่าเท่ากับ 2000 มม

 

ปล ค่าที่ผมคำนวณและใช้ในรูปล่างสุดนี้จะได้จากการคำนวณแต่ว่าหลักการคำนวณนี้จะค่อนข้างมีความละเอียดซับซ้อนในระดับหนึ่ง ไว้ยังไงในโอกาสหน้าผมจะขออนุญาตมาทำการขยายความให้เพื่อนๆ ได้ทราบอีกทีนะครับ

 

หากดูรูปการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าลักษณะและรูปแบบของการเสียรูปและค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับของโครงสร้างพื้นโครงสร้างนี้จะมีความสอดคล้องกันกับหลักการที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้

 

หากดูรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับของโครงสร้างพื้นที่มีค่าน้อยที่สุดจะเท่ากับ 1551 KGF ส่วนค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับของโครงสร้างพื้นที่มีค่ามากที่สุดก็จะเท่ากับ 1652 KGF ซึ่งหากทำการเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนของคำตอบก็จะพบว่ามีความคลาดเคลื่อนไปประมาณ 1.065 เท่า หรือ 6.50% ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าที่ผมคำนวณได้นี้ก็จะมีค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยกว่า 10% ตามที่ผมได้ทำการอธิบายไปก่อนหน้านี้ครับ

 

หากเพื่อนๆ ดูรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับทุกๆ จุดของโครงสร้างนั้นเกือบที่จะมีค่าที่เท่าๆ กันทั้งหมดเลย ซึ่งหากถามความคิดเห็นส่วนตัวของผมๆ มีความคิดว่า เราไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องใช้ขนาดความหนาของโครงสร้างพื้นนี้ให้มีความหนาที่มากขนาดนี้เพียงเพื่อที่จะให้ค่าคำตอบของค่าแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับนั้นออกมาเท่าๆ กันหรอกครับ มันจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองเสียเปล่าๆ

 

ดังนั้นก็อย่างที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปครับว่า หากเรามีความต้องการที่จะใช้วิธีการ SIMPLIFY METHOD โดยที่อยากจะเลือกใช้ขนาดของความหนาของโครงสร้างให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกันกับวิธีการๆ นี้ เราก็เพียงแค่ทำการคำนวณหาค่าขนาดความหนาของโครงสร้างจากสมการที่ได้ให้ไว้ใน BS CODE หลังจากนั้นก็เลือกใช้ค่าความหนาจริงๆ ของโครงสร้างที่มีค่า มากกว่า หรืออย่างน้อยก็คือ ไม่น้อยกว่า ค่าที่คำนวณได้จากสมการๆ นี้ ก็เป็นอันใช้ได้แล้วละครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาเหตุใดจึงต้องทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่ไม่มีการเสียรูปกับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้ครั้งที่4

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com