การคำนวณและ APPLY ใช้งานค่า SOIL SPRING

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาอธิบายถึงเรื่องวิธีในการคำนวณและ APPLY ใช้งานค่า SOIL SPRING ต่อจากโพสต์เมื่อวานนะครับ โดยเนื้อหาในวันนี้ผมมองว่าน้อยครั้งมากๆ ที่จะมีอาจารย์หรือผู้รู้ท่านใดนำมาเผยแพร่และทำความเข้าใจกันนะครับ ซึ่งผมต้องขอขอบพระคุณ ดร สมพร อรรถเศรณีวงศ์ มา ณ โอกาสนี้อีกครั้งนะครับที่ท่านได้ให้ความกรุณานำเนื้อหาส่วนนี้มาเผยแพร่แก่พวกเราทุกๆ นะครับ

โดยเนื้อหาตรงนี้ผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าหลักการที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายไว้นั้นเป็นหลักการที่จะสอดคล้องกับโปรแกรม MICROFEAP นะครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ไม่ได้ใช้โปรแกรมนี้ก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะเพื่อนๆ ก็สามารถที่จะนำหลักการนี้ไป INPUT เป็นค่า PROPERTY ของชิ้นส่วนโครงสร้าง TRUSS ELEMENT ในโปรแกรม FINITE ELEMENT ใดๆ ก็ได้นะครับ

 

โดยผมขอแบ่งค่าคุณสมบัติของ SOIL SPRING ออกเป็น 2 ประเภทนะครับ คือ

(1) สปริงของดินในแนวดิ่ง หรือค่า VERTICAL SOIL SPRING ซึ่งในที่นี้เราจะแทนค่าด้วยค่า Kv นะครับ

(2) สปริงในดินในแนวราบ หรือค่า HORIZONTAL SOIL SPRING ซึ่งในที่นี้เราจะแทนค่าด้วยค่า Kh นะครับ

โดยหลักการ คือ เราต้องทำการทดสอบคุณสมบัติของดินเสียก่อน จากนั้นเราจะนำผลจากการทำ BORING LOG นี้มาคำนวณหาค่า STIFFNESS ของดินซึ่งในที่นี้ก็คือ Kv และ Kh นะครับ จากนั้นเราจะแปลงค่าๆ นี้เพื่อเป็นค่า STIFFNESS ของโครงสร้างซึ่งในที่นี้ก็คือ kv และ kh ครับ

โดยที่ค่า kv ของโครงสร้างหาได้จากการนำค่า Kv ของดินคูณกันกับ AREA ปะทะหน้าตัดของเสาเข็มในแนวดิ่ง หรือ เขียนได้ง่ายๆ ในรูปแบบสมการว่า

kv = Kv Apv

โดยที่ค่า kh ของโครงสร้างหาได้จากการนำค่า Kh ของดินคูณกันกับ AREA ปะทะหน้าตัดของเสาเข็มในแนวราบ หรือ เขียนได้ง่ายๆ ในรูปแบบสมการว่า

kh = Kh Aph

หวังว่าเนื้อหาที่ผมนำมาอธิบายในวันนี้แก่เพื่อนๆ จะเข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไปนะครับ ในวันพรู่งนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องๆ นี้พร้อมกับยก ตย ประกอบด้วยละกันนะครับ น่าจะเป็นการดีและส่งเสริมความเข้าใจให้แก่เพื่อนๆ ได้ดีเลยครับ ยังไงผมขอขอบคุณที่เพื่อนๆ ติดตามอ่านกันมาตลอดนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN