วิธีในการดูแลรักษาโครงสร้างเหล็กที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขอนำเอาภาพและปัญหาจากกรณีจริงๆ ของโครงสร้างที่จัดอยู่ในประเภทโครงสร้างเหล็ก ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุเลยนะครับ เช่น ผู้ออกแบบอาจจะเลือกใช้ขนาดความหนาของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่มีความบางมากจนเกินไป โดยที่ผิวของเหล็กนั้นอาจจะไม่ได้รับการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมดีเพียงพออีกต่างหาก ผนวกกับการที่โครงสร้างดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบและดูแลดีเพียงพอจนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า เนื้อเหล็กนั้นก็เกิดการกร่อนและเสียหายในที่สุด เป็นต้น โดยเหตุผลที่ผมนำเอาปัญหาข้อนี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนก็เพื่อให้เพื่อนๆ ดูเอาไว้เป็นตัวอย่างและพึงระวังถึงปัญหาๆ … Read More

ความรู้เกี่ยวกับการเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นที่ลาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หากเพื่อนๆ ดูข่าวสารในช่วงนี้ก็จะเห็นได้ว่าคงไม่มีข่าวใดที่จะมีกระแสดังไปกว่าเรื่องเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศ สปป ลาว ซึ่งมีขนาดของการเกิดแผ่นดินไหวสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 6.4 ดังนั้นในวันเสาร์และอาทิตย์นี้ผมจึงมีความคิดว่าน่าจะเป้นการดีและเป็นประโยชน์หากผมจะขออนุญาตใช้พื้นที่ในการโพสต์ตรงนี้ในการให้ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้นะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตหยิบนำเอากฎของความปลอดภัยจากแผ่นดินไหวสำหรับผู้ที่อยู่หรือพักอาศัยในอาคารสูงซึ่งได้มีการจัดทำและรวบรวมขึ้นมาโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยมาแบ่งปันและขยายความให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนดังรูปๆ นี้นะครับ   โดยที่ผมจะขอรวบรวมและทำการสรุปให้ดังต่อไปนี้ก็คือ อย่าตื่นตระหนกตกใจหรือรีบผลุนลันรีบวิ่งหนีออกจากอาคารในทันทีในขณะที่อาคารนั้นเพิ่งที่จะเริ่มเกิดการสั่นไหวหรืออย่าใช้ลิฟต์โดยสารโดยเด็ดขาดเพราะมีโอกาสสูงที่ระบบอิเล็คทรอนิคส์ของลิฟต์โดยสารดังกล่าวอาจจะใช้การไม่ได้ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น สิ่งที่แนะนำให้ทำก็คือให้รีบทำการหาที่หลบภัยใต้ที่ใกล้ตัวและสะดวกที่สุดเพื่อหาสิ่งที่จะคอยป้องกันไม่ให้สิ่งของต่างๆ ร่วงลงมาใส่ศีรษะหรือร่างกายของเรา เช่น หลบอยู่ใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เป็นต้น … Read More

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง DiaphragmWall

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงระบบโครงสร้างระบบหนึ่งที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของอาคารที่จะมีการตั้งอยู่ใต้ระดับดินลงไปมากๆ เช่น ที่จอดรถใต้ดิน หรือ อาคารรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น ระบบนั้นก็คือ ระบบกำแพงรับแรงดัน หรือที่พวกเรานิยมเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า DIAPHRAGM WALL … Read More

ปัญหาการคำนวณเมตริกซ์ความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ไปถึงเรื่อง การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารสูงเชิงวิศวกรรมพลศาสตร์ ให้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการสร้าง LATERAL STIFFNESS MATRIX ของอาคารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปเป็นอาคารๆ … Read More

ปัญหาตำแหน่งในการวางโครงสร้างคานยึดรั้ง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ตามที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปตั้งแต่ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในสัปดาห์นี้ผมจะขอนำเอาหลักการสำคัญๆ และข้อพึงระวังในการออกแบบโครงสร้างคาน TIED BEAM มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนและก็บังเอิญจริงๆ ว่าได้เพื่อนวิศวกรร่วมสถาบันในอดีตของผมท่านหนึ่งได้ให้ความกรุณาสอบถามผมเข้ามาว่า   “สำหรับกรณีที่เราต้องการที่จะทำการก่อสร้างโครงสร้างที่เป็นคาน TIED BEAM เราควรที่จะทำการวางตำแหน่งของคาน TIED … Read More

ถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการโพสต์เพื่อที่จะแชร์ความรู้และตอบคำถามให้แก่เพื่อนของผมท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามเข้ามาว่า   “ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC … Read More

Puzzle109

posted in: Puzzle

Puzzle109 วันนี้ Miss. Spunpile มีแบบทดสอบมาให้ลองเล่นดูค่ะ เป็นการวัดการทำงานของสมอง ว่าคุณถนัดใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวา มากกว่ากัน มาเริ่มกันเลยค่ะ 1. อ่านตามตัวหนังสือด้านล่างนี้ 1 รอบ  2. อ่านตามสีที่เห็นอีก 1 รอบ จากนั้นดูการทดสอบด้านล่างค่ะ Miss … Read More

การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงเรื่องการคำนวณหา STIFFNESS MATRIX ของโครงสร้างต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เพื่อนๆ เวลาที่ผมพาทำการแก้ปัญหาในการวิเคราะห์โครงสร้างของอาคารเมื่ออยู่อาคารนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้แรงกระทำแบบพลศาสตร์นะครับ   โดยในครั้งที่แล้วผมได้อธิบายจบไปแล้วถึงเรื่องที่มาที่ไปของ STIFFNESS MATRIX ของ BEAM ELEMENT … Read More

ปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ   โดยที่ผมจะมายกตัวอย่างถึงปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่พบได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันของเราๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE นั่นเองนะครับ   สืบเนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้พาครอบครัวไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ซึ่งพอวิ่งไปรอบๆ บึงซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ได้มีการขุดเอาไว้ผมก็ไปพบกับอาคารชั้นเดียวอาคารหนึ่งซึ่งสร้างเอาไว้ค่อนข้างสูงจากระดับดิน ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการออกแบบของสถาปนิกที่มีความต้องการที่จะให้ระดับใช้งานของอาคารหลังนี้อยู่เหนือระดับน้ำที่อาจจะมีระดับที่สูงมากๆ … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ได้มีเพื่อนท่านหนึ่งที่เป็นแฟนเพจที่น่ารักของพวกเราได้ให้ความกรุณาทำการสอบถามปัญหาเข้ามาข้อหนึ่งทางอินบ็อกซ์ของเพจโดยมีใจความของคำถามว่า   “เพราะเหตุใดพอทำการสำรวจภายในส่วนของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของทางบริษัทภูมิสยามจึงไม่พบว่ามีการใช้ลวด PC WIRE หรือลวดอัดแรงเลยครับ?”   ผมคิดว่าเมื่อเพื่อนๆ เจอกับคำถามๆ นี้เหมือนกันกับผม หลายๆ คนก็คงจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วแต่อีกหลายคนก็คงจะไม่ทราบคำตอบ ซึ่งก็ไม่เป็นไร วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการคลายข้อสงสัยในประเด็นๆ … Read More

1 17 18 19 20 21 22 23 74